การใช้โปรแกรม SolidWorks ขั้นพื้นฐาน

            ปัจจุบันมีโปรแกรมด้าน CAD มากมายหลายโปรแกรมให้เลือกใช้งาน แต่โปรแกรมที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในการเขียนแบบ 2 มิติ คือโปรแกรม AutoCAD เพราะว่าเป็นโปรแกรมเขียนแบบโปรแกรมแรกที่ ถูกนําเข้ามาใช้ในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย และอยู่กับวงการเขียนแบบมายาวนาน ขณะนี้ก็ยังถือว่าเป็นอันดับหนึ่งในการเขียนแบบ 2 มิติอยู่แต่ถ้ากล่าวถึงการเขียน แบบ 3 มิติโปรแกรม AutoCAD ใช้งานค่อนข้างยากเพราะต้องจดจําคําสั่งและขั้นตอนจํานวนมาก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาโปรแกรมด้าน CAD สําหรับงาน 3 มิติเพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ซึ่งโปรแกรม Solidworks ก็เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ถูกพัฒนาและนิยมใช้อยู่างแพร่หลายในปัจจุบัน

รู้จักกับโปรแกรม Solidworks

  • Solidworks เป็นโปรแกรมเขียนแบบและออกแบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในงาน ออกแบบผลิตภัณฑ์ออกแบบเฟอร์นิเจอร์และออกแบบชิ้นส่วนเครื่องกล 3 มิติซึ่งมีฟังก์ชั่นการใช้งาน ดังนี้
  • การสร้าง Part Solid ใช้วิธีการและเทคโนโลยีของ Surface Modeling (NURBS)
  • Assembly Modeling สามารถประกอบชิ้นส่วน 3 มิติไดเร็วขึ้น โดยมีขนาดของไฟล์ เล็กลงและใช้หน่วยความจําน้อย
  • Drawing สร้าง Drawing 2 มิติจาก 3 มิติโดยอัตโนมัติและ บันทึกไฟล์เป็น *dwg ได้
  • Simulation ใช้ทดสอบการเคลื่อนที่และตรวจสอบหาชิ้นส่วนที่ขัดกัน
  • Animator สร้างภาพเคลื่อนไหวแสดงการทํางานของชิ้นส่วน หรือเครื่องจักรกล และสามารถบันทึกไฟล์เป็น *AVI (ไฟล์วีดิโอ)ได้
  • Sheet Metal สามารถสร้างงานพับแบบต่างๆ และทําแผนคลี่งานโลหะแผ่นได้
  • และ Module การใช้งานอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์เบื้องต้น
เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาจะมีหน้าตาดังรูป

ขั้นตอนการสร้างชิ้นงาน
กดที่ File > New จะมีเมนูขึ้นมาดังรูป เลือก Part คือการสร้างชิ้นงานชิ้นเดียว

หลังจากนั้นจะมีหน้าตาดังนี้ เป็นหน้าโปรแกรมส่วนของการเตรียมสร้างชิ้นงาน

จากนั้นเลือกที่เมนู Sketch เพื่อเริ่มการสร้างชิ้นงาน

จะมีกรอบสี่เหลี่ยมขึ้นมา Front จะเป็นการ Sketch จากมุมมองด้านหน้า Right จะเป็นมุมมองจากด้านหลัง Top จะเป็นมุมมองจากด้านบน

เมื่อเลือกเสร็จจะมีหน้าตาดังนี้ จากนั้นเริ่มการ Sketch โดยการเลือกที่สัญลักษณ์ที่จะเริ่มการ Sketch ตามต้องการ (ในตัวอย่างจะเป็นการเลือกเพื่อเตรียมการสร้างสี่เหลี่ยม)

คลิกที่พื้นที่ว่างจากนั้นลากไปตามขนาดที่ต้องการเพื่อสร้างสี่เหลี่ยมขึ้นมา

จากนั้นใช้เครื่องมือ Smart Dimension เพื่อกำหนดขนาดของรูป โดยคลิกที่เส้นที่ต้องการจะปรับขนาด จะสามารถกำหนดค่าได้ตามต้องการ


หลังจากกำหนดขนาดเสร็จจะได้ดังรูป

เลือกที่เมนู Features จากนั้นเลือกที่ Extruded Boss/Base เพื่อสร้างความหนาขึ้นมาทำให้เกิดเป็น 3D สำหรับการสร้างกล่องสี่เหลี่ยม

จะได้ดังรูป ความหนาจะถูกเพิ่มขึ้นมา


สามารถปรับขนาดของความหนาได้ตามต้องการโดยจะอยู่ที่แถบเมนูด้านข้าง (ในตัวอย่างจะปรับเป็น 50 mm.)


เมื่อเสร็จจะได้ดังรูป เป็นกล่องสี่เหลี่ยมตันขนาด แกน X : 150 mm. Y : 90 mm.  Z : 50 mm.


การเลือกพื้นผิวของชิ้นงาน


เลือกที่เมนู Appearance , Scenes , and Decals เพื่อเปิดเมนูพื้นผิวขึ้นมา


จะมีเมนูพื้นผิวขึ้นมาให้เลือกดังภาพ มีพื้นผิวจำลองของวัสดุทุกรูปแบบในแต่ละหมวด


ในตัวอย่างจะเลือกพื้นผิวเป็น Metal > Steel และเลือกพื้นผิวเป็น polished steel ดับเบิ้ลคลิกที่พื้นผิวที่ต้องการเพื่อเลือกให้ชิ้นงาน


หลังจากทำ Final Render จะเป็นการจำลองพื้นผิววัสดุที่เราเลือกให้เสมือนกับของจริง